นโยบายกำกับดูแลกิจการที่ดีและบรรษัทภิบาล
บริษัทมีเจตนารมณ์ที่จะกำกับดูแลการดำเนินธุรกิจโดยยึดมั่นในหลักการกำกับดูแลกิจการและบรรษัทภิบาลที่ดี ด้วยตระหนักถึงประโยชน์และความสำคัญของการกำกับกิจการและบรรษัทภิบาลที่ดี ซึ่งมีส่วนช่วยให้การบริหารงานและการดำเนินกิจการมีประสิทธิภาพด้วยความโปร่งใส และคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกด้าน รวมทั้งสามารถตรวจสอบได้ เพื่อสนับสนุนให้บริษัทสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเพิ่มคุณค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว บริษัทจึงได้กำหนดหลักการกำกับกิจการที่ดีเป็นนโยบายเป็น ลายลักษณ์อักษรขึ้น ดังมีรายละเอียดนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีดังนี้
หมวดที่ 1 สิทธิของผู้ถือหุ้น
บริษัทได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีเกี่ยวกับการดูแลสิทธิของผู้ถือหุ้นเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมุ่งเน้นให้ผู้ถือหุ้นได้มีโอกาสรับรู้ผลการดำเนินงานของบริษัทอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่างๆ ที่สำคัญ ตลอดจน ปกป้อง ส่งเสริม สนับสนุน และไม่ริดรอนสิทธิของผู้ถือหุ้น โดยกำหนดนโยบายไว้ดังนี้
- บริษัทมีหน้าที่ปกป้องและเคารพสิทธิของผู้ถือหุ้นขั้นพื้นฐาน ได้แก่ สิทธิการซื้อขายหรือโอนหุ้น สิทธิในการมีส่วนแบ่ง ในกำไรของกิจการ สิทธิในการได้รับข่าวสารข้อมูลกิจการอย่างเพียงพอ สิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแต่งตั้งหรือถอดถอน กรรมการ การแต่งตั้งผู้สอบบัญชี การจัดสรรเงินปันผล การกำหนดหรือแก้ไขข้อบังคับหรือหนังสือบริคณห์สนธิ การลดทุนหรือเพิ่มทุน การอนุมัติรายการพิเศษ เป็นต้น
- บริษัทมีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิในเรื่องต่างๆ ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ได้แก่ สิทธิ ในการเสนอวาระการประชุมผู้ถือหุ้นล่วงหน้า สิทธิในการเสนอบุคคลเพื่อคัดเลือกเป็นกรรมการล่วงหน้า สิทธิในการส่งคำถามต่อที่ประชุมล่วงหน้าก่อนการประชุม สิทธิในการแสดงความคิดเห็นและตั้งคำถามต่อที่ประชุม เป็นต้น
- บริษัทมีหน้าที่ในการงดเว้นการกระทำใดๆ อันเป็นการละเมิด หรือจำกัดสิทธิ หรือการลิดรอนสิทธิของผู้ถือหุ้น ในการศึกษาข้อมูลสารสนเทศของบริษัทที่ต้องเปิดเผยตามข้อกำหนดต่างๆ และการเข้าประชุมผู้ถือหุ้น เช่น ไม่นำเสนอเอกสารที่มีข้อมูลสำคัญเพิ่มเติมอย่างกะทันหัน ไม่เพิ่มวาระการประชุมหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลสำคัญโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า เป็นต้น
- บริษัทมีหน้าที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ถือหุ้นในการใช้สิทธิต่างๆ เช่น การให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นปัจจุบันผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทเป็นต้น
บริษัทมีนโยบายให้ข้อมูลเกี่ยวกับ วัน เวลา สถานที่ และวาระการประชุมผู้ถือหุ้น ตลอดจนข้อมูลทั้งหมดที่ เกี่ยวข้อง กับเรื่องที่ต้องตัดสินใจในที่ประชุมผู้ถือหุ้น แก่ผู้ถือหุ้นเป็นการล่วงหน้าอย่างน้อยตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับการประชุมผู้ถือหุ้นในแต่ละครั้ง บริษัทมีนโยบายในการเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นศึกษาข้อมูลก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้นล่วงหน้าก่อนการประชุมผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้มีเวลาศึกษาข้อมูลประกอบการประชุมล่วงหน้าอย่างเพียงพอก่อนได้รับข้อมูลในรูปแบบเอกสารจากบริษัท
หลังการประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทจะนำเนื้อหาการประชุมซึ่งประกอบด้วย รายละเอียดวาระการประชุม มติที่ ประชุม การลงคะแนนเสียง ตลอดจนคำถามและความเห็นของผู้ถือหุ้น รวบรวมจัดทำเป็น “รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น” เผยแพร่ขึ้นเว็บไซต์ของ บริษัทภายใน 14 วัน นับจากวันประชุม ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัทมีนโยบายอำนวยความสะดวกให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิในการเข้าร่วมประชุมและออกเสียงอย่างเต็มที่ในการ ประชุมผู้ถือหุ้นและจะไม่กระทำใดๆ ที่เป็นการจำกัดโอกาสการเข้าประชุมของผู้ถือหุ้น
บริษัทจะแจ้งกฎเกณฑ์และวิธีการในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นให้ผู้ถือหุ้นทราบในหนังสือเชิญประชุม รวมทั้งใน วันประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ดำเนินการประชุมจะแจ้งกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการประชุม และขั้นตอนการออกเสียงลงมติให้ผู้ถือหุ้นทราบที่ประชุมผู้ถือหุ้น และได้มีการบันทึกการแจ้งกฎเกณฑ์และขั้นตอนการออกเสียงลงมติดังกล่าว ลงในรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นทุกครั้ง นอกจากนี้บริษัทอาจ เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นส่งคำถามล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับวาระในการประชุมผู้ถือหุ้นก่อนวันประชุมตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
บริษัทจะเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นซักถามในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวาระการประชุมหรือเกี่ยวข้องกับบริษัทและแสดง ความ คิดเห็น โดยประธานกรรมการได้สอบถามที่ประชุมในแต่ละวาระทุกวาระ รวมทั้งได้มีการบันทึกข้อซักถามในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวาระการ ประชุมหรือเกี่ยวข้องกับบริษัทและแสดงความคิดเห็นของผู้ถือหุ้น รวมทั้งคำชี้แจงของคณะกรรมการบริษัทและ/หรือผู้บริหารลงในรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นทุกครั้ง
บริษัทได้ให้ความสำคัญและเคารพสิทธิของผู้ถือหุ้นในการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีและสนับสนุนให้ กรรมการ ทุกคนเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น
หมวดที่ 2 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
บริษัทคำนึงถึงการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน โดยกำหนดนโยบายที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
บริษัทมีการนโยบายอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในการเสนอเพิ่มวาระการประชุมล่วงหน้าก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ การเสนอเพิ่มวาระการประชุมล่วงหน้าและการพิจารณาข้อเสนอดังกล่าวของผู้ถือหุ้นจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่เป็นผู้บริหารจะไม่เพิ่มวาระการประชุมที่ไม่ได้แจ้งเป็นการล่วงหน้าโดยไม่จำเป็นโดยเฉพาะ วาระสำคัญที่ผู้ถือหุ้นต้องใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ
บริษัทมีการนโยบายอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในการเสนอเพิ่มวาระการประชุมล่วงหน้าก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ การเสนอเพิ่มวาระการประชุมล่วงหน้าและการพิจารณาข้อเสนอดังกล่าวของผู้ถือหุ้นจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
บริษัทมีนbโยบายอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในการเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการ ทั้งนี้ การเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการและการพิจารณาข้อเสนอดังกล่าวของผู้ถือหุ้นจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บริษัท กำหนด
บริษัทมีนโยบายสนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นใช้หนังสือมอบฉันทะในรูปแบบที่ผู้ถือหุ้นสามารถก าหนดทิศทางการลงคะแนนเสียงได้ และควรเสนอชื่อกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 คนเป็นทางเลือกในการมอบฉันทะของผู้ถือหุ้น โดยบริษัทจะดำเนินการจัดส่งหนังสือมอบ ฉันทะรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ถือหุ้น พร้อมกับหนังสือเชิญประชุม
บริษัทมีนโยบายสนับสนุนให้มีการใช้บัตรลงคะแนนเสียงในวาระที่สำคัญ เช่น การทำรายการเกี่ยวโยงกันการทำรายการ ได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่มีนัยสำคัญ เป็นต้น เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ในกรณีมีข้อโต้แย้งในภายหลัง
บริษัทมีนโยบายสนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิในการแต่งตั้งกรรมการเป็นรายคน
บริษัทได้กำหนดมาตรการป้องกันกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ใช้ข้อมูลภายในเพื่อหาผลประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่นในทางมิชอบไว้ในหลักจรรยาบรรณธุรกิจ (Code of Conduct) ซึ่งครอบคลุมถึงเรื่องการใช้ข้อมูลภายในเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และการรักษาความลับ โดยมีการแจ้งมาตรการดังกล่าวผ่านทางคู่มือหลักจรรยาบรรณธุรกิจ ทางการจัด อบรม และทางเว็บไซต์ของบริษัท นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้เลขานุการบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบในการแจ้งหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูล และติดตามให้คณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารรายงานการถือครองหลักทรัพย์ตามกฎหมาย รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนได้ ส่วนเสียหรือการทำรายการระหว่างกันของกรรมการและผู้บริหารและกำหนดให้กรรมการทุกคนและผู้บริหารที่มีหน้าที่รายงานการมีส่วนได้ เสียตามที่กฎหมายกำหนดให้บริษัททราบ
หมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
บริษัทตระหนักและให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ซึ่งไม่เพียงแต่เฉพาะตามที่กฎหมายกำหนด เท่านั้น ในปีที่ผ่านมาบริษัทได้พิจารณาชี้บ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขึ้นใหม่ พร้อมกับกำหนดเป็นนโยบายและมาตรการในการดูแลผู้มีส่วนได้ส่วน เสียเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี และนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมของ บริษัท ที่ได้ยึดถือปฏิบัติควบคู่กันไป โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทแบ่งออกเป็น 11 กลุ่ม ดังนี้
- พนักงานและครอบครัว
- เกษตรกรชาวไร่
- ลูกค้า และเจ้าหนี้
- ผู้ถือหุ้น หรือผู้ลงทุน
- ชุมชนรอบสถานประการแต่ละสาขา
- หน่วยงานราชการ
- Supplier และ Contractor
- นักวิชาการ
- สถาบันการศึกษา
ทั้งนี้ บริษัทได้กำหนดนโยบายและมาตรการในการดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดังต่อไปนี้
- พนักงานและครอบครัว
- บริษัทให้ผลตอบแทนแก่พนักงานโดยยึดหลักพิจารณาผลงานด้วยความเป็นธรรมและสามารถวัด ผลได้ภายใต้หลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
- บริษัทมุ่งส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถอย่างต่อเนื่อง อาทิ จัดให้มีการอบรมและสัมมนาผู้บริหารและพนักงาน เป็นต้น
- บริษัทปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนด้วยความเป็นธรรมและความเท่าเทียมกัน อาทิ การประเมินผลงานพนักงาน การรักษาความลับประวัติการทำงาน และการใช้สิทธิต่างๆ ของพนักงาน เป็นต้น
- บริษัทคำนึงถึงสิทธิของพนักงานเป็นสำคัญ และเปิดโอกาสให้พนักงานร้องเรียนกรณีพนักงานไม่ได้รับความเป็น ธรรมผ่านช่องทางต่างๆ เช่น ตู้รับความคิดเห็น หน่วยงานฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่รับเรื่อง เป็นต้น
- บริษัทมีหน้าที่ดูแลจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ และเอื้อต่อการทำงานอย่างมีประสิทธิผล
- เกษตรกรชาวไร่
- บริษัทมีหน้าที่ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและความร่วมมือในระยะยาวกับเกษตรกรชาวไร่คู่สัญญา โดยยึดหลัก ความซื่อสัตย์สุจริต ความเชื่อถือและไว้วางใจซึ่งกันและกัน
- บริษัทสนับสนุนการสร้างความมั่นคงในการประกอบอาชีพของเกษตรกร โดยการให้การดูแล เอาใจใส่ และให้ ความสำคัญต่อเกษตรกรชาวไร่คู่สัญญา
- บริษัทมุ่งส่งเสริมเกษตรกรชาวไร่คู่สัญญาให้พัฒนาความรู้ในการทำการเกษตรอย่างต่อเนื่อง อาทิ จัดอบรม โครงการโรงเรียนเกษตรกร เป็นต้น เพื่อให้เกษตรกรนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการประกอบอาชีพ เพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิตเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีในการประกอบอาชีพเกษตรกร
- ลูกค้า และเจ้าหนี้
นโยบายเกี่ยวกับการดูแลลูกค้า
- บริษัทมีหน้าที่ในการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือในระยะยาวกับลูกค้า โดยยึดหลักความซื่อสัตย์สุจริต ความเชื่อถือและไว้วางใจซึ่งกันและกัน
- บริษัทมีหน้าที่ในการสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าของบริษัท ด้วยการรับผิดชอบ เอาใจใส่ และให้ ความสำคัญต่อปัญหาและความต้องการของลูกค้าเป็นอันดับแรก โดยให้ผู้บริหารและพนักงานทุกคนปฏิบัติตามมาตรการตามนโยบายนี้
- บริษัทจะปฏิบัติงานโดยยึดหลักจริยธรรมโดยไม่เรียก รับหรือจ่ายผลประโยชน์ที่ไม่สุจริตต่อลูกค้าและเจ้าหนี้
ยึดมั่นในการนำเสนอและส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ได้มาตรฐานคุณภาพตรงกับความต้องการของลูกค้า
ยึดถือปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ได้ทำข้อตกลงไว้กับลูกค้าอย่างดีที่สุด
นโยบายเกี่ยวกับการดูแลเจ้าหนี้
- บริษัทมีหน้าที่สร้างความสัมพันธ์และปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ โดยยึดหลักความซื่อสัตย์สุจริต ความเชื่อถือและไว้วางใจ ซึ่งกันและกัน
- บริษัทมีหน้าที่รับผิดชอบ เอาใจใส่ และให้ความสำคัญต่อเงื่อนไขต่างๆ ที่ได้ทำข้อตกลงไว้กับเจ้าหนี้อย่างดีที่สุด
- ผู้ถือหุ้น หรือผู้ลงทุน
โปรดอ้างอิงหมวด 1. สิทธิของผู้ถือหุ้น
- ชุมชนรอบสถานประกอบการแต่ละแห่ง
- บริษัทและพนักงานต้องยึดมั่นประพฤติปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดี และเป็นประโยชน์แก่สังคมและชุมชน
- บริษัทมีหน้าที่ประพฤติปฏิบัติต่อชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงกับบริเวณที่ตั้งสถานประกอบการแต่ละสาขาด้วยความ เป็นมิตร และให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดี ตลอดจนรับผิดชอบดำเนินการแก้ไขในกรณีที่เกิดปัญหาต่างๆ ที่ได้รับผลมาจากการดำเนินการของบริษัทอย่างเป็นธรรม และมีความเท่าเทียมกัน
- บริษัทมีหน้าที่ดูแลและสนับสนุนกิจกรรมที่มีคุณประโยชน์ต่อสังคม และให้ความร่วมมือกับภาครัฐและหน่วยงาน ต่างๆ ด้วยความเต็มใจ และเสียสละเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม
- หน่วยงานราชการ
- บริษัทมีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่ได้กำหนดไว้
- บริษัทจะสนับสนุนกิจกรรมในโอกาสต่างๆ ของหน่วยงานราชการตามความเหมาะสม
- Supplier และ Contractor
- บริษัทมีหน้าที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับ Supplier และ Contractor ทุกราย
- บริษัทมีหน้าที่เปิดโอกาสให้ Supplier และ Contractor ทุกรายนำเสนอสินค้า/บริการได้โดยเท่าเทียมกัน โดยให้ ผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้องกับ Supplier และ Contractor ต้องปฏิบัติตามมาตรการดังต่อไปนี้
ต้องปฏิบัติงานต่อ Supplier และ Contractor ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และมีความเท่าเทียมกัน
การพิจารณาและตัดสินใจต้องอยู่บนพื้นฐานของการเปรียบเทียบคุณภาพ และเงื่อนไขต่างๆ โดย คำนึงถึง ผลประโยชน์ของบริษัททั้งในระยะสั้นและระยะยาวโดยจะต้องปฏิบัติตามคู่มือการจัดซื้อจัดจ้างอย่างเคร่งครัด
- นักวิชาการ
- บริษัทเปิดโอกาสให้นักวิชาการได้รับทราบข้อมูลวิธีการ กระบวนการดำเนินงานของบริษัท รวมทั้งแลกเปลี่ยน ความรู้ เพื่อเป็นประโยชน์ในงานด้านวิชาการ และการทำวิจัยต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อบริษัท
- บริษัทสนับสนุนการเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาการใช้เทคโนโลยีในการปรับปรุงกระบวนการทำงานต่างๆ ตลอดจนร่วมศึกษาเพื่อพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ในการเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบริษัท
- สถาบันการศึกษา
- บริษัทจะทำการส่งเสริมให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตแก่สถาบันการศึกษา โดยจะให้ความสำคัญกับโรงเรียนและสถาบันการศึกษาที่ใกล้บริเวณชุมชนรอบสถานประกอบการแต่ละสาขาของบริษัทเป็นอันดับแรก
- บริษัทจะทำการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของสถาบันการศึกษาตามความเหมาะสม
มาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน
บริษัทมีมาตรการที่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทจะต้องพึงปฏิบัติในการใช้ข้อมูลภายในดังนี้.-
- เลขานุการบริษัท มีหน้าที่แจ้งให้กรรมการ และผู้บริหาร รายงานการถือครองหลักทรัพย์ในบริษัทของตนเอง คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ตลอดจนรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ตามมาตร 59 และบทกำหนดโทษตามมาตรา 275 แห่ง พระราชบัญญัติบริษัทหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535
- บริษัทจะแนะนำให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่ทราบข้อมูลภายใน เพื่อห้ามการซื้อขายหุ้นของบริษัทก่อนการ เปิดเผยข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญ รวมถึงข้อมูลงบการเงินของบริษัท ซึ่งมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ต่อสาธารณชน กล่าวคือ เป็นเวลา 1 เดือนก่อนการเปิดเผยข้อมูลอันอาจเป็นการกระทำผิดพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
มาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของผู้บริหารและพนักงาน
บริษัทได้กำหนดมาตรการป้องกันกรรมการและผู้บริหารใช้ข้อมูลภายในเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นในทางมิ ชอบไว้ในหลักจรรยาบรรณสำหรับผู้บริหารและพนักงานดังต่อไปนี้
- ผู้บริหารและพนักงานจะต้องไม่กระทำการใดๆ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์หรือเบียดบังทรัพย์สิน ซึ่งควรเป็นของบริษัท หรือควรเป็นของลูกค้าของบริษัท มาเป็นของส่วนตัวหรือของบุคคลใดๆ โดยขัดแย้งกับการรักษาผลประโยชน์ของบริษัท
- ผู้บริหารและพนักงานควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์ หรือการมีกิจกรรมส่วนตัว และการมีผลประโยชน์ทางการเงินซึ่งอาจ ขัดแย้งกับหน้าที่การงานที่ผู้บริหารและพนักงานผูกพันอยู่ และส่งผลกระทบต่อแนวทางการรักษาผลประโยชน์ของบริษัท
- บริษัทจะหลีกเลี่ยงที่จะมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับผู้บริหารและพนักงานในกรณีที่อาจจะนำไปสู่ สถานการณ์ที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของบริษัท หรือขัดต่อผลประโยชน์ของลูกค้าของบริษัท
- การที่ผู้บริหารและพนักงานมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมภายนอกองค์กร หรือดำรงตำแหน่งภายนอกองค์กร อาทิ การเป็นกรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทน หรือเป็นพนักงานในองค์กรอื่นๆ กิจกรรมนั้นๆ จะต้องไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม และจะต้องไม่ทำให้เกิดผลเสียหายต่อบริษัท รวมทั้งจะต้องไม่กระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลนั้นๆ
- ห้ามมิให้ผู้บริหารและพนักงานเข้าร่วมหรือรับตำแหน่งใดในองค์กรอื่นที่ประกอบธุรกิจในลักษณะเดียวกันกับบริษัท หรือกิจการที่แข่งขันกับบริษัท หรือกิจการที่อาจมีผลประโยชน์ขัดแย้งกับบริษัท
ทั้งนี้ บริษัทจะได้รับการรายงานข้อมูลส่วนได้ส่วนเสียในการทำธุรกรรมกับบริษัทของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอโดยตลอด โดยสำนักตรวจสอบภายในของบริษัทมีหน้าที่รายงานข้อมูลส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ให้แก่คณะกรรมการ ตรวจสอบทราบเพื่อพิจารณา และหลังจากนั้นให้คณะกรรมการตรวจสอบนำข้อมูลสรุปส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ รายงานต่อคณะกรรรมการ บริษัทเพื่อรับทราบและพิจารณาต่อไป โดยสำนักตรวจสอบภายในจะเป็นผู้ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ บริษัทได้กำหนดมาตรการชดเชยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไว้ในกรณีได้รับความเสียหายจากการละเมิดดังต่อไปนี้
- มาตรการป้องกันกรณีความเสียหายจากการละเมิดต่อพนักงานและครอบครัว
บริษัทจัดให้มีสถานที่รับข้อร้องเรียน และ/หรือข้อเสนอแนะจากพนักงานไว้สำหรับเป็นช่องทางในการแจ้งเรื่องร้องเรียนของพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการทำงาน
- มาตรการป้องกันกรณีความเสียหายจากการละเมิดต่อลูกค้า และเจ้าหนี้
บริษัทได้มีการดูแลลูกค้าตามนโยบายการดูแลลูกค้า และจัดให้มีฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Service) ขึ้นเพื่อเป็น ศูนย์ร้องเรียนสำหรับลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้ามีปัญหาและต้องการความช่วยเหลือเพื่อป้องกันกรณีความเสียหายจากการละเมิดต่อลูกหนี้ และเจ้าหนี้ ผู้บริหารจะพิจารณาคุณสมบัติของลูกหนี้ และเจ้าหนี้ ทุกรายก่อนการทำธุรกรรม เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาขึ้นในภายหลัง โดยพิจารณาตามหลักความซื่อสัตย์สุจริตและความน่าเชื่อถือ
- มาตรการป้องกันกรณีความเสียหายจากการละเมิดต่อพนักงานและครอบครัว
บริษัทจัดให้มีสถานที่รับข้อร้องเรียน และ/หรือข้อเสนอแนะจากพนักงานไว้สำหรับเป็นช่องทางในการแจ้งเรื่องร้องเรียนของพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการทำงาน
- มาตรการป้องกันกรณีความเสียหายจากการละเมิดต่อผู้ถือหุ้น
บริษัทดำเนินการปกป้องและดูแลสิทธิของผู้ถือหุ้นขั้นพื้นฐาน ทั้งสิทธิในการได้รับข้อมูลสารสนเทศ สิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น ตลอดจนสนับสนุนการใช้สิทธินอกเหนือไปจากกฎหมาย
- มาตรการป้องกันกรณีความเสียหายจากการละเมิดต่อชุมชนรอบสถานประกอบการแต่ละแห่ง
บริษัทมีการป้องกันกรณีความเสียหายจากการละเมิดต่อชุมชนและสังคมรอบสถานประกอบการแต่ละแห่ง ด้วยการปฏิบัติ ตามนโยบายการดูแลสังคมและชุมชน ในการสร้างสัมพันธ์อันดีกับสังคมและชุมชนรอบข้าง ตลอดจนให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนชุมชน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดี
- มาตรการป้องกันกรณีความเสียหายจากการละเมิดต่อหน่วยงานราชการ
บริษัทมีการป้องกันกรณีความเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ โดยบริษัทมีหน่วยงานฝ่ายกฎหมายที่จะทำหน้าที่ในการติดตามดูแลการปฏิบัติของหน่วยงานในบริษัทให้มีการปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมายอยู่อย่างสม่ำเสมอ
- มาตรการป้องกันกรณีความเสียหายจากการละเมิดต่อ Supplier และContractor
บริษัทมีการป้องกันกรณีความเสียหายในการละเมิดต่อ Supplier และ Contractor โดยบริษัทมีนโยบายในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับ Supplier และ Contractor ทุกราย รวมถึงมีการปฏิบัติต่อ Supplier และ Contractor ทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน
- มาตรการป้องกันกรณีความเสียหายจากการละเมิดต่อนักวิชาการ
บริษัทได้เปิดโอกาสให้นักวิชาการเข้าเยี่ยมชมกระบวนการให้บริการ และให้ข้อมูลวิธีการ กระบวนการดำเนินงานในการให้บริการของบริษัท เพื่อเป็นประโยชน์ในด้านวิชาการ ตลอดจนร่วมมือกับนักวิชาการในการศึกษาปรับปรุงเทคโนโลยีในการให้บริการต่างๆ ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ
- มาตรการป้องกันกรณีความเสียหายจากการละเมิดต่อสถาบันการศึกษา
บริษัทได้ให้ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในการเปิดโอกาสให้เยี่ยมชมสถานประกอบการของบริษัทและจัดบรรยายให้ ความรู้ด้านเทคโนโลยีและกระบวนการให้บริการของบริษัทแก่สถาบันการศึกษา ตลอดจนให้การสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ อยู่อย่างสม่ำเสมอ
บริษัทกำหนดกลไกการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดังต่อไปนี้
- บริษัทได้จัดให้มีช่องทางรับข้อร้องเรียนและ/หรือแสดงความคิดเห็น และเพิ่มช่องทางในการอีเมล์ถึงผู้บริหารระดับสูง โดยตรง
- บริษัทได้เปิดโอกาสให้มีช่องทางการส่งข้อเสนอแนะถึงกรรมการบริษัท ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท หัวข้อนักลงทุน
- บริษัทได้จัดให้มีการส่งตัวแทนของบริษัทเพื่อเข้าเยี่ยมเยียนชุมชนในพื้นที่รอบๆ โรงงานเป็นประจำทุกปี
บริษัทได้กำหนดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนการกระทำผิดกฎหมายหรือจรรยาบรรณ รายงานทาง การเงิน หรือระบบควบคุมภายในบกพร่อง
บริษัทได้กำหนดให้มีการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส โดยการไม่เปิดเผยแต่จะเก็บข้อมูลต่างๆ ของผู้แจ้งเบาะแสเป็น ความลับ
บริษัทได้กำหนดให้มีกระบวนการดำเนินการหลังจากมีผู้แจ้งเบาะแส โดยในเบื้องต้นสำนักตรวจสอบ ภายในจะทำการรวบรวมสรุปเรื่องดังกล่าวแล้วนำเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อพิจารณาพิสูจน์หาข้อเท็จจริง หากพบว่าเป็นข้อมูลที่กระทบต่อบริษัท จะต้องนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาต่อไป
หมวดที่ 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
บริษัทมีนโยบายเปิดเผยข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลทางการเงินอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา โปร่งใส ผ่านช่องทางที่เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย มีความเท่าเทียมกันและน่าเชื่อถือ
บริษัทมีนโยบายในการป้องกันและขจัดปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น โดยกำหนดให้การทำรายการ และ/หรือธุรกรรมที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บริษัทกำหนด และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
บริษัทจะดำเนินการให้กรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทแล้วแต่กรณีไม่ประกอบธุรกิจที่คล้ายคลึง หรือแข่งขัน ซึ่งส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันของบริษัทลดลง หรือมีรายการระหว่างกันในลักษณะที่มีผลประโยชน์อื่นที่อาจขัดแย้งกับ ผลประโยชน์ที่ดีที่สุดกับบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย โดยกรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทแล้วแต่กรณีจะต้องรายงาน ต่อบริษัทหากกรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่เข้าไปถือหุ้นบริษัทที่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานคล้ายคลึงกับบริษัท หรือบริษัทย่อย เพื่อให้บริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาว่าการถือหุ้นดังกล่าวขัดต่อผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของบริษัทหรือบริษัท ย่อยหรือไม่
บริษัทยังให้ความสำคัญกับระบบการควบคุมภายในที่ดี และได้จัดให้มีสำนักตรวจสอบภายในเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงาน ของแต่ละสายงาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดและปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความโปร่งใส โดยมีการตรวจสอบเป็นระยะและจัดทำรายงาน ส่งให้คณะกรรมการตรวจสอบพิจารณา
บริษัทเปิดเผยข้อมูลให้เป็นไปตามกฏหมายหรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกำหนดผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์ฯ และบริษัท ภายใต้หัวข้อ ข้อมูลนักลงทุน โดยบริษัทจัดให้มีผู้รับผิดชอบคือ นักลงทุนสัมพันธ์ พร้อมทั้งปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ เพื่อเป็น ตัวแทนในการสื่อสาร บริการข้อมูล ข่าวสารกิจกรรมต่างๆ กับบริษัทกับสถาบันผู้ลงทุน ผู้ถือหุ้น นักวิเคราะห์ และประชาชน หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อได้ที่หน่วยงาน นักลงทุนสัมพันธ์ ของบริษัท
บริษัทได้เปิดเผยนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ได้ให้ความเห็นชอบและผลการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวผ่านช่องทาง ต่างๆ เช่น รายงานประจำปี และเว็บไซต์ของบริษัท เป็นต้น
บริษัทจัดให้มีรายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงินแสดงควบคู่ไปกับรายงานของผู้สอบบัญชี ในรายงานประจำปี ซึ่งมีเนื้อหารับรองการปฏิบัติตามหลักการบัญชี และมีการรายงานทางการเงินที่มีข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน เป็นจริงตาม มาตรฐานการบัญชี โดยรายงานดังกล่าวลงนามโดยประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ
ได้เปิดเผยบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อย จำนวนครั้งของการประชุมและจำนวน ครั้งที่กรรมการแต่ละท่านเข้าร่วมประชุมในปีที่ผ่านมาและความเห็นจากการทำหน้าที่ในรายงานประจำปี
หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท
บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการพิจารณาสรรหากรรมการที่มีภาวะผู้นำวิสัยทัศน์ มีประสบการณ์ความรู้ความสามารถ
และมีความเป็นอิสระในการตัดสินใจเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทและผู้ถือหุ้นโดยรวม และความส าคัญในการแบ่งแยกบทบาทหน้าที่ความ รับผิดชอบระหว่างคณะกรรมการบริษัทและฝ่ายจัดการที่ชัดเจน และดูแลให้บริษัทมีระบบงานที่ให้ความเชื่อมั่นได้ว่ากิจกรรมต่างๆของ บริษัทได้ดำเนินไปในลักษณะที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีจริยธรรม
บริษัทได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทโดยคำนึงปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงความรับผิดชอบของกรรมการ โดยมีแนวนโยบายสำคัญที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- โครงสร้างคณะกรรมการบริษัท
- บริษัทคำนึงถึงการบริหารงานที่โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้เป็นสำคัญ ดังนั้นประธานกรรมการขอ บริษัทจึงไม่ เป็นบุคคลเดียวกับประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือกรรมการผู้อำนวยการ อีกทั้งคณะกรรมการบริษัทได้ให้ความเห็นชอบในการกำหนดนิยาม กรรมการอิสระของบริษัท ตามหลักเกณฑ์และคำนิยามที่กำหนดไว้โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
- สำหรับกระบวนการสรรหากรรมการ บริษัทได้กำหนดวิธีการที่เป็นทางการโดยยึดหลักความโปร่งใส ปราศจาก อิทธิพลของฝ่ายบริหารหรือผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจควบคุม คือ คณะกรรมการสรรหาจะเป็นผู้สรรหาบุคคลดำรงตำแหน่งกรรมการโดยทำการ พิจารณาคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากคุณวุฒิ ความสามารถ ประสบการณ์ทำงาน ฯลฯ และจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มี ลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ตรงกับภาระหน้าที่ของกรรมการบริษัท และ/หรือกรรมการในคณะอนุกรรมการต่างๆ และ เมื่อคัดเลือกกรรมการที่เหมาะสมได้แล้ว จึงนำเสนอคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติแต่งตั้งเป็นกรรมการต่อไป
- บริษัทได้จัดให้มีการเปิดเผยรายชื่อของคณะกรรมการบริษัท และคณะอนุกรรมการ โดยเปิดเผยชื่อ กรรมการ รายบุคคล ตำแหน่ง อายุ ประวัติการศึกษา สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท ประสบการณ์ทำงาน และความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหาร โดยได้ เปิดเผยไว้ผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งในรายงานประจำปี และเว็บไซต์ของบริษัท
- กรรมการของบริษัทโดยมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี ทั้งนี้ กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับ เลือกตั้งใหม่จากที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้
- คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งหมด และไม่น้อยกว่า 3 คน กรรมการอิสระของบริษัทฯ จะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่คณะกรรมการบริษัทกำหนด ซึ่งมีความเข้มงวดไม่น้อยกว่า คุณสมบัติที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนและตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด
- บริษัทฯ มีนโยบายที่จะแต่งตั้งเลขานุการบริษัทฯ เพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด และทำหน้าที่อื่นตามที่ ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
- ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์
- คณะกรรมการบริษัทมีภาวะผู้นำวิสัยทัศน์ และมีความเป็นอิสระในการตัดสินใจเพื่อประโยชน์สูงสุดของ บริษัทและผู้ถือหุ้นโดยรวม บริษัทจึงจัดให้มีการแบ่งแยกบทบาทหน้าที่ของคณะกรรรมการบริษัทกับฝ่ายบริหารอย่างชัดเจน โดยฝ่ายบริหารจะเป็นผู้หา ข้อมูลต่างๆ เพื่อประกอบการพิจารณาและคณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่ตัดสินใจ
- คณะกรรมการบริษัทมุ่งหวังที่จะให้กิจการของบริษัทมีความมั่นคง และมีความสำเร็จทางธุรกิจที่ยั่งยืนใน ระยะยาว จึง ได้ร่วมกับฝ่ายบริหารพิจารณาทบทวนกำหนดวิสัยทัศน์และภารกิจที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงกำหนดเป้าหมาย แผนธุรกิจ และแผนงบประมาณ โดยคำนึงถึงการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด และความมั่นคงในระยะยาวของบริษัทและของผู้ถือหุ้น ตลอดจนทำหน้าที่ในกากำกับดูแลและติดตามการดำเนินการของฝ่ายบริหารให้เป็นไปตามแผนธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- คณะกรรมการบริษัทได้สนับสนุนให้เกิดระบบบรรษัทภิบาลในการบริหารงานภายในองค์กร คณะกรรมการบริษัทจึง ได้เป็นผู้นำในการกำหนดแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี หลักจรรยาบรรณ มาตรการและขั้นตอนการอนุมัติการทำรายการระหว่างกันกับบริษัทที่เกี่ยวข้องหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง รวมถึงการแบ่งแยกขอบเขตอำนาจหน้าที่อย่างชัดเจนระหว่างผู้ถือหุ้นกับคณะกรรมการ บริษัทระหว่างคณะกรรมการบริษัทกับผู้บริหารและคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจและสามารถตรวจสอบซึ่งกัน และกันได้อย่างอิสระ
- ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- บริษัทจะพิจารณาการทำรายการระหว่างกันที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างผู้ถือหุ้น กรรมการ และฝ่ายบริหาร ด้วยความรอบคอบ ซื่อสัตย์สุจริต อย่างมีเหตุ มีผล และเป็นอิสระภายในกรอบจริยธรรมที่ดี ตลอดจนมีการเปิดเผยข้อมูล อย่างครบถ้วน โดยยึดผลประโยชน์ของบริษัทโดยรวมเป็นสำคัญ รวมทั้งยึดถือการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามประกาศ คำสั่ง หรือข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างเคร่งครัด โดยคณะกรรมการตรวจสอบจะให้ความเห็นเกี่ยวกับความจำเป็นและ ความเหมาะสมของของการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันนั้น
- บริษัทได้กำหนดให้มีมาตรการและขั้นตอนการอนุมัติการทำรายการระหว่างกันกับบริษัทที่เกี่ยวข้อง หรือ บุคคลที่อาจมี ความขัดแย้ง โดยห้ามมิให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งทางตรงและทางอ้อมมีส่วนร่วมในการพิจารณารายการ และกำหนดให้คณะกรรมการ ตรวจสอบร่วมพิจารณาและให้ความเห็นเกี่ยวกับความจำเป็นและความสมเหตุสมผลของรายการที่นำเสนอนั้นเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท ตลอดจนให้มีการเปิดเผยข้อมูลการทำรายการระหว่างกัน ไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป ใน รายงานประจำปี
- จริยธรรมทางธุรกิจ
- บริษัทได้จัดทำหลักจรรยาบรรณสำหรับผู้บริหารและพนักงาน (Code of Conduct) เพื่อให้ผู้บริหารและ พนักงานทุกคนได้ใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานในหน้าที่ และยึดถือประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและเคร่งครัด โดยครอบคลุมทั้งด้านการประกอบ ธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์และสุจริต การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยความเท่าเทียมและเป็นธรรม การป้องกันการละเมิดต่อผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การรักษาความลับ และการใช้ข้อมูลในทางที่ผิด ตลอดจนเรื่องการรับสินบน ของขวัญ และของรางวัล ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้สำนักตรวจสอบภายในติดตามและตรวจสอบการปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณนี้
- บริษัทจะติดตามและดูแลให้การประกอบธุรกิจของบริษัท การปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ การดำเนินการ ของฝ่าย บริหาร และการปฏิบัติงานของพนักงาน ยึดมั่นอยู่ในกรอบของคุณธรรม และจริยธรรมอันดี นอกเหนือจากระเบียบข้อบังคับของบริษัท และกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- บริษัทกำหนดนโยบายให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานหลีกเลี่ยงหรืองดการซื้อขายหลักทรัพย์ของ บริษัทในช่วง ระยะเวลา 1 เดือน ก่อนการเปิดเผยข้อมูลสำคัญแก่สาธารณชนที่อาจมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัท เช่น ข้อมูลทางการเงิน เป็น ต้น
- การรวมหรือแยกตำแหน่งเพื่อการถ่วงดุลอำนาจการบริหารงาน
- บริษัทกำหนดแบ่งแยกขอบเขต อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการ บริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง รวมถึงประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร ไว้อย่างชัดเจน รวมถึงการกำหนดให้บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ ไม่เป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ดำรงตำแหน่งประธาน กรรมการบริหาร หรือประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับฝ่ายบริหาร เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บริหารคนใดคนหนึ่งมีอำนาจ โดยไม่จำกัด และสามารถที่จะสอบทานถ่วงดุลการบริหารงานได้
- คณะอนุกรรมการ
- คณะกรรมการบริษัทได้จัดให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อช่วยงานคณะกรรมการบริษัทในการศึกษารายละเอียด ติดตามและควบคุมการปฏิบัติงาน และกลั่นกรองกิจการที่ได้รับมอบหมาย โดยมีการกำหนดขอบเขต อำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบไว้ อย่างชัดเจน
- บทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการกลุ่ม KTIS
- คณะกรรมการบริษัทได้ทำหน้าที่พิจารณาและให้ความเห็นชอบในเรื่องที่สำคัญเกี่ยวกับการดำเนินงาน รวมทั้งกำกับ ดูแลให้ฝ่ายจัดการดำเนินงานตามนโยบายและแผน รวมถึงตามงบประมาณที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- ตามที่คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษร และ ให้ความเห็นชอบในนโยบายดังกล่าวไว้แล้วนั้น คณะกรรมการบริษัทได้มีการทบทวนเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- คณะกรรมการบริษัทได้จัดทำหลักจรรยาบรรณธุรกิจที่เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นไว้ และได้เผยแพร่ แจกจ่ายให้แก่ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่เข้าใหม่ รวมทั้งดำเนินการทบทวนจรรยาบรรณต่างๆ สำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานเดิม เพื่อให้เข้าใจถึงมาตรฐานด้านจริยธรรมที่บริษัทใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยคณะกรรมการกลุ่ม KTIS ได้มอบหมายให้สำนักตรวจสอบภายใน ติดตามการปฏิบัติตามจรรยาบรรณดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
- คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาเรื่องความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างรอบคอบ รวมถึงการทำรายการ ที่เกี่ยวโยงกัน ซึ่งอาจมีความขัดแย้งกับผลประโยชน์ของบริษัท โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ
- คณะกรรมการบริษัทได้จัดให้มีระบบการควบคุมด้านการรายงานทางการเงิน และการปฏิบัติตาม กฎระเบียบต่างๆ ซึ่งจะมีหน่วยงานตรวจสอบภายในทำหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งมีความอิสระต่อการปฏิบัติหน้าที่ และได้มีการทบทวนระบบดังกล่าวอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่ร่วมกับคณะกรรมการตรวจสอบในการพิจารณางบการเงินประจำปีและ ประจำไตรมาส และสารสนเทศทางการเงินที่ปรากฏในรายงานประจำปี และร่วมประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในของบริษัทเพื่อเปิดเผย ต่อผู้ลงทุน
- คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่ร่วมกับคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงในการพิจารณากำหนดนโยบายด้าน การบริหาร ความเสี่ยง (Risk Management Policy) อย่างครอบคลุมทั้งองค์กร โดยมอบหมายให้ฝ่ายจัดการเป็นผู้ปฏิบัติตามนโยบายและรายงานให้ คณะกรรมการบริษัทและ/หรือคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทราบเป็นประจำ ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทจะจัดให้มีการทบทวนระบบหรือ ประเมินประสิทธิผลของการจัดการความเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และในทุกๆ ระยะเวลาที่พบว่าระดับความเสี่ยงมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงการให้ความสำคัญกับสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าและรายการผิดปกติทั้งหลาย
- การประชุมคณะกรรมการบริษัท
- คณะกรรมการบริษัทจะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการไม่น้อยกว่าปีละ 4 ครั้ง และดำเนินการประชุม ให้เป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 และกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยประธานกรรมการในฐานะประธานในที่ประชุมจะส่งเสริมให้มีการใช้ดุลยพินิจที่รอบคอบ และจัดสรรเวลาอย่างเพียงพอที่ฝ่ายบริหารจะเสนอเรื่อง และมากพอที่กรรมการจะอภิปรายปัญหาสำคัญกันอย่างรอบคอบ รวมทั้งจัดให้มีการจดบันทึกรายงานการประชุมทุกครั้งเพื่อให้กรรมการ และผู้เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบได้ กรรมการมีหน้าที่ต้องเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการทุกครั้งยกเว้นกรณีที่มีเหตุผลพิเศษ
- บริษัทได้จัดให้ฝ่ายจัดการทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอให้คณะกรรมการบริษัททราบโดยสม่ำเสมอ เพื่อให้ คณะกรรมการบริษัทสามารถกำกับ ควบคุมและดูแลการปฏิบัติงานของฝ่ายจัดการได้อย่างต่อเนื่องและทันการ
- ประธานกรรมการบริษัทเป็นผู้เรียกประชุมคณะกรรมการ และพิจารณากำหนดวาระในการประชุม โดย อาจ ปรึกษาหารือกับกรรมการผู้จัดการ เลขานุการบริษัท หรือที่ปรึกษาบริษัท โดยกรรมการแต่ละคนมีสิทธิที่จะเสนอเรื่องเข้าสู่วาระการประชุม คณะบริการบริษัทได้
- คณะกรรมการบริษัทอาจเชิญผู้บริหาร พนักงาน ที่ปรึกษาบริษัท เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเพื่อให้ สารสนเทศ เพิ่มเติม ในเรื่องที่ประชุม
- ก่อนการประชุมคณะกรรมการบริษัทในปีถัดไปนั้น เลขานุการคณะกรรมการบริษัทจะจัดทำกำหนดการ ประชุมประจำปี เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทรับทราบกำหนดการประชุมล่วงหน้าตลอดทั้งปี ทั้งนี้เพื่อให้กรรมการสามารถวางแผนล่วงหน้าและจัดเวลาในการ เข้าร่วมประชุมได้
- ในการกำหนดจ านวนครั้งของการประชุมคณะกรรมการบริษัท ได้พิจารณาถึงความเหมาะสมกับ ภาระหน้าที่และ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท โดยเลขานุการคณะกรรมการบริษัทได้จัดทำกำหนดการประชุมประจำปีพร้อมระบุเรื่องที่ต้อง พิจารณาในการประชุมแต่ละครั้ง เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทได้รับทราบถึงรายละเอียดต่างๆ ที่ต้องพิจารณาในการประชุมแต่ละครั้ง ล่วงหน้า
- ในการจัดประชุมคณะกรรมการแต่ละครั้ง เลขานุการคณะกรรมการบริษัทจะจัดส่งเอกสารการประชุม ให้แก่กรรมการ พิจารณาล่วงหน้าก่อนการประชุม และได้มีการจัดทำเอกสารและสารสนเทศประกอบการประชุม
- การจัดประชุมคณะกรรมการเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทและพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 อย่าง เคร่งครัด โดยเปิดโอกาสให้กรรมการอภิปรายปัญหาสำคัญกันอย่างรอบคอบโดยทั่วกัน และมีเลขานุการคณะกรรมการบริษัท เข้าร่วมการประชุมและจดบันทึกรายงานการประชุม ข้อซักถาม และข้อเสนอแนะต่างๆ ของกรรมการด้วย เพื่อให้กรรมการและผู้เกี่ยวข้องสามารถติดตามและตรวจสอบได้
- ประธานคณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินจัดสรรเวลาให้เหมาะสมในการนำเสนอข้อมูลของฝ่ายจัดการ และ กรรมการ สามารถอภิปรายปัญหาสำคัญกันได้อย่างรอบคอบโดยทั่วกัน ทั้งนี้ประธานกรรมการได้ส่งเสริมให้กรรมการในที่ประชุมใช้ดุลยพินิจที่รอบคอบ และสอบถามที่ประชุมว่าจะมีผู้ใดสอบถามเพิ่มเติมหรือมีความเห็นเป็นอย่างอื่นหรือไม่ในการประชุมแต่ละวาระทุกครั้ง
- คณะกรรมการบริษัทมีนโยบายให้กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารที่จะประชุมระหว่างกันเองตามความจำเป็น เพื่ออภิปราย ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการที่อยู่ในความสนใจโดยไม่มีฝ่ายจัดการร่วมกันด้วยและควรแจ้งให้กรรมการผู้จัดการทราบถึงผลการประชุม ด้วย
- การประเมินตนเองของคณะกรรมการบริษัท
- กรรมการบริษัทควรมีการประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยตนเองเป็นประจำ เพื่อให้คณะกรรมการบริษัท ร่วมกัน พิจารณาผลงานและปัญหา เพื่อการปรับปรุงแก้ไขต่อไป โดยมีการกำหนดบรรทัดฐานที่จะใช้เปรียบเทียบกับผลปฏิบัติงานอย่างมีหลักเกณฑ์
- คณะกรรมการบริษัทควรมีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทโดยรวม และ/หรือ เฉพาะในบาง เรื่อง ซึ่งไม่ได้มุ่งที่กรรมการผู้ใดผู้หนึ่งเป็นรายบุคคล
- ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร
- คณะกรรมการบริษัทจะเป็นผู้พิจารณากำหนดค่าตอบแทนกรรมการ เพื่อเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นผู้ พิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ ในการพิจารณากำหนดค่าตอบแทนกรรมการ คณะกรรมการบริษัทควรเปรียบเทียบกับมาตรฐานการจ่ายค่าตอบแทนของบริษัท ในธุรกิจเดียวกัน และพิจารณาบนพื้นฐานของความเป็นธรรม โดยคำนึงถึงประสบการณ์ ภาระหน้าที่ ขอบเขตของบทบาทและ ความรับผิดชอบ (Accountability and Responsibility) รวมถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากกรรมการแต่ละคน ทั้งนี้ กรรมการที่ได้รับมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ควรได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมเพิ่มขึ้น เช่น กรรมการที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมการ ตรวจสอบ อาจได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นสำหรับการทำหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ เป็นต้น
- ค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการและผู้บริหารระดับสูงควรเป็นไปตามหลักการและนโยบายที่ คณะกรรมการบริษัท กำหนด โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ ทั้งนี้ การกำหนดค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน โบนัส และผลตอบแทนจูงใจในระยะยาว ควรสอดคล้องกับผลงานของบริษัทฯ และผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารแต่ละคน
- กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารทั้งหมด เป็นผู้ประเมินผลกรรมการผู้จัดการเป็นประจำทุกปีเพื่อนำไปใช้ในการ พิจารณา กำหนดค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการ โดยใช้บรรทัดฐานที่ได้ตกลงกันล่วงหน้ากับกรรมการผู้จัดการตามเกณฑ์ที่เป็นรูปธรรม ซึ่งรวมถึงผลปฏิบัติงานทางการเงิน ผลงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ในระยะยาว การพัฒนาผู้บริหาร ทั้งนี้ กรรมการ ที่ไม่เป็นผู้บริหารดังกล่าวควรเสนอผลการประเมินกรรมการผู้จัดการให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาให้ความเห็นชอบ
- การพัฒนากรรมการและผู้บริหาร
- บริษัทได้ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้มีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาและให้ความรู้แก่กรรมการที่ เกี่ยวข้อง รวมถึง กรรมการในคณะอนุกรรมการต่างๆ เพื่อให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
- เลขานุการบริษัทได้จัดให้มีเอกสารคู่มือกรรมการ และหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูล ประวัติ การถือครอง หลักทรัพย์ การเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ เป็นต้น โดยจะจัดส่งให้ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการใหม่ รวมถึงเลขานุการบริษัทจะดำเนินการเชิญกรรมการใหม่ไปเยี่ยมชมโรงงานของบริษัทเพื่อแนะน าลักษณะธุรกิจ และแนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทให้แก่กรรมการ ใหม่ทราบ
- บริษัทได้กำหนดให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารจัดทำรายงานเพื่อทราบเป็นประจำถึงแผนการพัฒนาและ สืบทอดงาน ซึ่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ ได้เตรียมความพร้อมในเรื่องผู้สืบทอดงานในกรณีที่ตนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ไว้ แล้วบริษัทได้กำหนดโครงสร้างสำหรับการพัฒนาผู้บริหาร โดยมอบหมายให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารรายงานเป็นประจำทุกปีถึงสิ่งที่ได้ ดำเนินการไปในระหว่างปี และพิจารณาควบคู่กับแผนการสืบทอดงาน