ชาวไร่อ้อยมั่งคั่งกลุ่ม KTIS มั่นคง

กลุ่ม KTIS มีความเชื่อว่า ความสำเร็จในธุรกิจอ้อยและน้ำตาลนั้น ผู้ประกอบการและชาวไร่อ้อยจะต้องมีความเจริญก้าวหน้า เติบโต มั่นคง และมั่งคั่งควบคู่กันไปทั้งสองฝ่าย

คุณจรูญ ศิริวิริยะกุล ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท KTIS ได้กล่าวไว้ตั้งแต่ 30 ปีที่แล้วว่า “..........เครื่องจักรโรงงานน้ำตาลนั้น ใครมีเงินก็ซื้อได้ แต่ความมั่นคงที่แท้จริงของโรงงานน้ำตาลอยู่ที่วัตถุดิบคืออ้อย เราจึงต้องสร้างความสำเร็จในอาชีพให้ชาวไร่อ้อยของเรา ให้เขามีฐานะที่ดี ร่ำรวยจากการทำอ้อย ชาวไร่ก็จะทำอ้อยอยู่กับเราตลอดไป โรงงานของเราก็จะมีความมั่นคง”

คำกล่าวนี้เป็นที่มาของปรัชญาในการทำโรงงานน้ำตาลของกลุ่มบริษัท KTIS ที่ว่า “ชาวไร่อ้อยมั่งคั่ง กลุ่ม KTIS มั่นคง” ซึ่งกลุ่มผู้บริหารและ พนักงานทุกคนของ KTIS ได้ยึดมั่นและถือปฏิบัติเป็นพันธกิจสำคัญนับแต่นั้นเป็นต้นมา

แผนพัฒนาชาวไร่อ้อย

ในปี 2538 คณะผู้บริหาร KTIS ได้เดินทางไปดูงานที่ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเจริญที่สุดในโลก โดยเฉพาะด้านไร่อ้อย แต่ละปีมีคนไทยไปดูงานที่ออสเตรเลียจำนวนมาก พร้อมท้งนำ เครื่องมืออุปกรณ์เกษตร พันธุ์อ้อยจากออสเตรเลียมาใช้ในไทย แต่ก็ล้มเหลวไม่ได้ผลอย่างที่เห็นในออสเตรเลีย ผู้บริหารของบริษัทมีความเห็นว่า สาเหตุเกิดจากการนำวิธีการทำอ้อยอย่างออสเตรเลียมาใช้โดยขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ จึงตัดสินใจเชิญผู้เชี่ยวชาญจากการทำอ้อยในออสเตรเลียมาศึกษาและทำไร่อ้อยในประเทศไทย

จากการใช้เวลาศึกษาและทดลองทำไร่อ้อยในประเทศไทยเป็นเวลาหลายปี เริ่มจากการใช้อุปกรณ์เกษตรจากออสเตรเลียมาใช้ จนได้แนวทางใหม่ คือ เป็นการนำหลักคิดและเทคนิควิธีที่ทันสมัยอย่างที่ใช้กันในออสเตรเลีย แต่เป็นการปรับหลักการทางวิชาการให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ดินฟ้าอากาศ ผู้คน จักรกลเกษตรของไทย จึงมีการพัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์เกษตร รวมถึงหลักวิธีการปฏิบัติต่ออ้อยที่เหมาะสม ความรู้และวิธีการส่งเสริมความรู้นี้ถูกเรียกว่า “แผนพัฒนาชาวไร่อ้อย” ซึ่งครอบคลุมทุกขั้นตอนในการทำอ้อยยึดหลัก จังหวะเวลา มาตรฐาน และคุณภาพ

ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะถ่ายทอดความรู้ในการทำไร่อ้อยให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยของไทยสามารถรองรับนำไปใช้ในไร่อ้อยของตนได้ โดยทดลอง ทำในไร่อ้อยของบริษัทซึ่งเป็นแปลงใหญ่มิใช่เป็นงานทดลอง เมื่อเห็นผลจึงขยายสู่ชาวไร่อ้อยที่ให้ความสนใจ จากนั้นจึงขยายผลสู่การ ส่งเสริมชาวไร่อ้อยคู่สัญญาของบริษัทโดยทั่วไป

นับแต่นั้นมาการทำไร่อ้อยของชาวไร่คู่สัญญาของบริษัทได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ชาวไร่อ้อยรับเอาวิธีการเหล่านี้ไปใช้จนกลายเป็นการทำ ไร่อ้อยโดยปกติทั่วไปในเขตส่งเสริมของบริษัท จึงนับได้ว่าแผนพัฒนาชาวไร่อ้อยเป็นการบุกเบิกเส้นทางสายใหม่ในการพัฒนาทำไร่อ้อย ของบริษัทอย่างแท้จริง

โรงเรียนเกษตรกร

กลุ่ม KTIS เชื่อมั่นว่า การทำอ้อยให้ประสบผลสำเร็จ ชาวไร่อ้อยจะต้องใช้วิชาการในการทำไร่อ้อย จึงจัดตั้งโครงการโรงเรียนเกษตรกร เพื่อส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้ต่างๆให้แก่ชาวไร่อ้อย โดยเริ่มตั้งแต่หลักสูตรพื้นฐานสำหรับชาวไร่รายใหม่ทุกรายที่เพิ่งเข้ามาทำอ้อย โดยให้ความรู้วิธีการทำอ้อย ทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติจริงก่อนที่จะทำการเพาะปลูกในแปลงของตนเอง ไปจนถึงหลักสูตรพิเศษ ซึ่งสอนเทคโนโลยีการเพาะปลูกอ้อยในขั้นสูงขึ้น

จนถึงระดับที่ชาวไร่อ้อยสามารถนำทฤษฎีความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการทำอ้อยยิ่งขึ้น เพื่อให้ชาวไร่อ้อยสามารถพัฒนาเพิ่มผลผลิตและคุณภาพอ้อยได้สูงสุดตามศักยภาพของตน นอกจากนี้ยังเป็นแปลงศึกษาที่เปิดโอกาส ให้ชาวไร่อ้อยอื่นมาเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้จากประสบการณ์จริง เพื่อความสำเร็จในการประกอบอาชีพเกษตรกรชาวไร่อ้อย

> โรงเรียนเกษตรกร

> การอบรมโรงเรียนเกษตรกรอ้อย

ธนาคารพันธุ์อ้อย

ในการเพาะปลูกอ้อยแต่ละฤดูกาลจะต้องใช้พันธุ์อ้อยเป็นจำนวนมาก นอกจากการคัดเลือกพันธุ์อ้อยที่เหมาะสมต่อสภาพแปลงของชาวไร่แต่ละแห่ง การจัดหาและบริหารพันธุ์อ้อยให้เพียงพอและบริหารต้นทุนอ้อยให้มีราคาไม่แพงก็เป็นส่วนสำคัญจากการเล็งเห็นว่าพันธุ์อ้อยเป็นปัจจัยการผลิตที่มีราคาสูง กลุ่ม KTIS จึงจัดโครงการ ธนาคารพันธุ์อ้อย ซึ่งเป็นโครงการเพื่อสนับสนุนพันธุ์อ้อยส่งเสริมให้แก่ชาวไร่อ้อยรายใหม่ที่เพิ่งเข้ามาทำอ้อย และชาวไร่รายเก่าที่ต้องการเปลี่ยนพันธุ์อ้อยมาใช้พันธุ์อ้อย ส่งเสริมของโรงงาน

การพัฒนาแหล่งน้ำและระบบการให้น้ำอ้อย

น้ำเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญต่อผลผลิตอ้อยมาก พื้นที่ปลูกอ้อยของประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทาน ผลผลิตอ้อยจึงขึ้นกับปริมาณและการกระจายตัวของฝนในแต่ละปี เพื่อลดความเสี่ยงที่ผลผลิตอ้อยจะต้องแปรปรวนตามสภาพดินฟ้าอากาศ กลุ่ม KTIS จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบการให้น้ำอ้อย

- การพัฒนาแหล่งน้ำที่ใช้ในไร่อ้อย

กลุ่ม KTIS มีการร่วมมือกับชาวไร่อ้อยในการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกอ้อย โดยทำโครงการร่วมพัฒนาแหล่งน้ำกับสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 11 นครสวรรค์ สมาคมชาวไร่อ้อยสี่แคว สมาคมชาวไร่อ้อยลูกพระยาพิชัย และภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เพื่อจัดทำโครงการศึกษาศักยภาพแหล่งน้ำเบื้องต้นเพื่อไปใช้ประโยชน์ในไร่อ้อย ทำให้ปัจจุบันมีการพัฒนาแหล่งน้ำเป็นจำนวนหลายแห่ง ได้แก่

> การขุดสระเก็บน้ำ

> การขุดเจาะบ่อบาดาล

- การพัฒนาระบบการให้น้ำอ้อย

นอกจากการพัฒนาแหล่งน้ำแล้ว กลุ่ม KTIS ยังได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้ในการใช้น้ำให้เกิดประสิทธิภาพและให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่การเพาะปลูกอ้อย ระบบการให้น้ำอ้อยที่ชาวไร่อ้อยนิยมใช้ได้แก่ ระบบร่องคู การให้น้ำท่วมทั้งแปลง การให้น้ำด้วยระบบแทงค์ ระบบสปริงเกิ้ล แต่ระบบที่ได้รับความนิยมจากชาวไร่อ้อยสูงสุดในขณะนี้คือ ระบบน้ำหยดบนดิน

> การพัฒนาการให้น้ำอ้อยระบบน้ำหยดบนดิน

กลุ่ม KTIS ถือเป็นผู้พัฒนาวิธีการให้น้ำอ้อยระบบน้ำหยดบนดินรายแรกๆของประเทศที่นำมาพัฒนาและแนะนำให้กับชาวไร่อ้อย โดยเดิมทีระบบน้ำหยดเป็นเทคโนโลยีของประเทศอิสราเอลที่มีลักษณะภูมิประเทศแห้งแล้ง และไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืชทั่วไป จึงมีการขุดท่อวางระบบใต้พื้นที่เพื่อให้พืชได้รับน้ำอย่างต่อเนื่องและประหยัดปริมาณการใช้น้ำ การนำระบบมาใช้ในประเทศไทยช่วงแรกประสบปัญหาในการปรับใช้ในพื้นที่ เนื่องจากขุดท่อวางระบบใต้พื้นที่ปลูกอ้อยเป็นการลงทุนค่อนข้างสูงไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ประกอบกับท่อของระบบน้ำหยดมักถูกหนูในไร่กัดทำลาย แต่จากการศึกษาเพิ่มเติมของทีมนักวิจัยฝ่ายไร่ทำให้สามารถปรับระบบให้วางอยู่บนไร่อ้อยแทนฝังท่อใต้ดินจึงเป็นระบบน้ำหยดบนดิน จนในปัจจุบันมีการใช้ในหมู่ชาวไร่อ้อยอย่างแพร่หลายและได้มีหลายโรงงานเข้ามาศึกษาและปรับใช้ตาม โดยผลจากการนำระบบน้ำหยดมาปรับใช้ทำให้ผลผลิตอ้อยสูงขึ้นจาก 8-10 ตันอ้อยต่อไร่เป็น 15-17 ตันอ้อยต่อไร

การควบคุมโรคและแมลงด้วยเกษตรอินทรีย์

โรคและแมลงศัตรูของอ้อยถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งกระทบต่อคุณภาพอ้อยที่ส่งเข้าโรงงาน กลุ่ม KTIS ให้ความสำคัญกับการควบคุมโรคและแมลงศัตรูอ้อย โดยการใช้ หลักวิชาการทางด้านการควบคุมศัตรูอ้อยด้วยวิธีผสมผสาน ทั้งการแนะนำพันธุ์อ้อยที่ สามารถทนทานต่อศัตรูพืชให้แก่ชาวไร่อ้อย และการใช้วิธีเกษตรอินทรีย์ในการทำลาย ศัตรูอ้อย เช่น การใช้แมลงศัตรูธรรมชาติเพื่อใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูอ้อย เช่น การใช้แตนเบียนไข่ และแมลงหางหนีบเพื่อควบคุมการระบาดของหนอนกออ้อย การผลิตและปล่อยเชื้อราเมตาไรเซียมเพื่อทำลายด้วงหนวดยาว เพื่อให้ชาวไร่อ้อยนำไปปล่อยควบคุมการระบาดของแมลงศัตรูอ้อย โดยหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในไร่อ้อย เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่สะอาดและปลอดสารเคมีเจือปน และเป็นวิธีการทำการเกษตรที่ไม่ทำลายระบบนิเวศตามธรรมชาติ

การวิจัยและพัฒนา

เพื่อให้ชาวไร่อ้อยประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ กลุ่ม KTIS จึงมีการวิจัยและ พัฒนาเกี่ยวกับการปลูกอ้อยอย่างต่อเนื่อง โดยมีฝ่ายวิชาการไร่ซึ่งได้จัดทำงานทดลอง และวิจัยเพื่อนำผลการทดลองวิจัยที่ได้มาสนับสนุนงานฝ่ายส่งเสริมการปลูกอ้อย ทั้งในเรื่องการพัฒนาปริมาณอ้อยและคุณภาพอ้อย ตลอดจนการลดต้นทุนให้แก่ชาวไร่อ้อย งานทดลองวิจัย อาทิเช่น การเปรียบเทียบพันธุ์อ้อยเพื่อหา พันธุ์อ้อยที่ให้ผลผลิตและ คุณภาพความหวานสูง เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น การศึกษาอายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของพันธุ์อ้อยว่าควรเก็บเกี่ยวที่ช่วงอายุเท่าใดจึงให้ผลตอบแทนสูงสุด เพื่อแนะนำแก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยต่อไป